วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเมืองพะเยา

                                                                      คำขวัญ ประจำจังหวัด
                         

                                                กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง 
                                                บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม




                                                                                                                       
ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=KQyH4KNQyU4

แนะนำเมืองพะเยา

แอ่วพะเยาม่วนใจ 






ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=aX71N9StqV0

อาชีพของประชากร

อาชีพของประชากร


อาชีพคนพะเยา


อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพเก่าอาชีพแก่  ที่อยู่คู่กับเราชาวรากหญ้ามาช้านาน


                  เพราะการทำเกษตรกรเป็นอาชีพหลักมาแต่เดิม ในพื้นที่ที่อยู่อาศัยก็เป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกจึงเลือกที่จำการเกษตร และการเกษตรเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกทั้งยังให้รายได้ให้กับเกษตรกรรายอื่นได้ด้วย  เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรากหญ้าเป็นชาวบ้านที่ใช้ชีวิตแบบไม่สิ้นเปลืองมีเงินไม่มากการศึกษาน้อย การเกษตรจึงเป็นทางเลือกของพวกเขาที่ให้ทั้งรายได้และให้ผลผลิตที่เพาะปลูกมาใช้เอง

ความเป็นมาของอาชีพเกษตรกรในประเทศไทย
                     อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพดั่งเดิมของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตข้าวของโลก ผู้คนในอดีตสืบทอดการทำการเกษตรให้ลูกหลานต่อกันมาเป็นทอด ๆ โดยข้าวเป็นพืชเกษตรหลักในการหาเลี้ยงชีพ ส่วนการปลูกผลไม้ ปลูก พืชผัก ผลไม้อื่น ๆ เป็นเพียงการปลูกรับประทานในครัวเรือน และแบ่งปันญาติมิตรเพื่อนบ้าน เหลือจึงขาย เมื่อการเปลี่ยนแปลงยุคเกษตรกรรมแบบตะวันตกเริ่มเข้ามาในประเทศไทย คน ไทยได้รับเอาวิธีการผลิตพืชผลเกษตรเข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำเกษตรแบบ เดิมจากการปลูกพืชผสมผสมผสาน ปลูกข้าวเป็นหลัก มาเป็นการปลูกพืช ผลไม้เชิงเศรษฐกิจเพียงชนิดเดียว เป็นหลัก
              การเพาะปลูก
เป็นอาชีพหลักของประชากรในภาคเหนือ พืชผลที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ซึ่งมีการปลูกตามที่ราบลุ่มที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ บางแห่งปลูกได้ปีละ ครั้ง แหล่งปลูกข้าวในภาคนี้ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูนแพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร อุทัยธานี นครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีพืชเศรษฐกิจที่ปลูกได้ดีและกระทำกันหนาแน่นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบหุบเขา ได้แก่ ยาสูบ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง ใบชา หอม กระเทียม ผลไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สำไย ลิ้นจี่ มะม่วง รวมทั้งผลไม้เมืองหนาวเช่น สตรอเบอร์รี่ ลูกต้อ แอปเปิล ซึ่งทั้งหมดนี้จะให้ผลผลิตสูงในฤดูหนาว
การทำนาในจังหวัดพะเยา นิยมการทำนาดำและยังทำนาได้หลายฤดูกาล เพราะพะเยาเป็นเหมือนแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำให้ใช้ได้ตลอดปี ส่วนในพื้นที่ราบสูงเนื่องจากพื้นที่เล็กต้องมีการสร้างคันนาและเหมืองฝายกันน้ำ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

               การเลี้ยงสัตว์
เป็นอาชีพที่มีความสำคัญรองจาการเพาะปลูก ภูมิประเทศภาคเหนือเป็นภูเขา หุบเขาและที่ราบระหว่างภูเขาทำให้พื้นดินมีหญ้าอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ตลอดปี สัตว์ที่เลี้ยงมาก ได้แก่ โค กระบือ สุกร โคเลี้ยงกันมากันโคนมและโคเนื้อ คนพะเยาส่วนมากมักเลี้ยงในครัวเรือน เลี้ยงบนบ่อเลี้ยงปลา หรือไม่บางครั้งเรือนก็เลี้ยงเพื่อประกอบอาชีพหลัก

 การประมง
ภาคเหนือมีการประมงน้ำจืดตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง และบึง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และการประมงตามแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น  ส่วนการประมงหลักของคนพะเยาเป็นการเพาะเลี้ยงเพื่อธุรกิจและยึดเป็นอาชีพหลักคือการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด เลี้ยงกุ้ง ส่วนเกษตรกรที่หาเช้ากินค่ำก็ทำประมงตามแหล่งน้ำธรรมชาติได้มาเพื่อกินส่วนหนึ่ง อีกส่วนนำขาย






ที่มา : http://witanyasangsuwan.blogspot.com/


วัฒนธรรมและประเพณี

วัฒนธรรมและประเพณี

วัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัดพะเยา




ประเพณีไหว้พระธาตุดอยจอมทอง

วันเเพ็ญเดือน ทุกปี ชาวพะเยาพร้อมใจกันทำบุญไหว้พระธาตุดอยจอมทอง เพราะความเลื่อมใสศรัทธา


ประเพณีไหว้พระเจ้าตนหลวง

เป็นประเพณีที่ผู้คนมากราบไหว้พระเจ้าตนหลวงอย่างล้นหลาม เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว ในวันเพ็ญเดือน ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี 


ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ

ป็นพิธีขอน้ำขอฝน จากผีประจำขุนเขาที่เป็นต้นน้ำ เพราะเป็นเวลาที่ใกล้จะหว่านข้าวกล้า จะทำในวันปากปีของสงกรานต์เมืองเหนือ วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี


ประเพณีไหว้พระธาตุวัดป่าแดง-บุญนาค

ป็นประเพณีที่ชาวพะเยา จะพากันทำบุญตักบาตรสวดมนต์ไหว้พระ เวียนเทียน รักษาศีลภาวนา ในวันเพ็ญเดือน ของทุกปี



      ประเพณีลอยกระทง (ประเพณียี่เป็ง)

ตรงกับวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ (เดือนพฤศจิกายน) ประเพณีนี้มี 2 วันคือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ เรียกว่า วันยี่เป็ง เป็นวันขอขมาต่อแม่น้ำคงคา ในช่วงเช้าจะเป็นการทำบุญตักบาตร และมีเทศน์มหาชาติฉบับล้านนา ตั้งแต่เช้ามืดจนถึงกลางคืนและกลางวัน จะมีการปล่อยโคมลอยขึ้นบนท้องฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก กลางคืนจะมีการลอยกระทงเล็ก บริเวณรอบกว๊านพะเยา


 งานประเพณีสลากภัต

โดยจะเริ่มตั้งแต่ วันเพ็ญเดือนสิบสองเหนือ (เดือน 10) ประมาณเดือนกันยายน และจะสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ชาวบ้านจะนำเอาสิ่งของต่างๆ เช่น ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม อาหารเป็นห่อนึ่ง ชิ้นปิ้ง (เนื้อย่าง) หมาก เมี่ยง บุหรี่ รวมใส่ในก๋วย (ตะกร้า) พร้อมกับยอด คือ สตางค์หรือธนบัตรผูกไว้ ซึ่งขึ้นอยู่กับกำลังศรัทธาและทรัพย์ของแต่ละครอบครัว


ที่มา : http://waraporn2930.blogspot.com/2013/08/blog-post_4020.html

สภาพภูมิประเทศทั่วไป

สภาพภูมิประเทศทั่วไป

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปล้อมรอบไปด้วยเทือกเขา ทั้งด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านใต้ และตอนกลางของจังหวัด เทือกเขาเหล่านี้จะทอดตัวเป็นแนวยาวจากเหนือลงใต้ มีที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูกอยู่สองข้างเทือกเขาและระหว่างลำน้ำ มีเนื้อที่ภูเขาสูงและสูงมากที่สุด ประมาณรัอยละ 47 ของพื้นที่จังหวัด มีพื้นที่เนินเขาผสมที่ราบ ประมาณร้อยละ 35 และมีที่ราบลุ่มน้อยที่สุด ประมาณร้อยละ 18 เท่านั้น 
           ระดับความสูงของพื้นที่จังหวัดพะเยา มีความสูงระหว่าง 300 - 1,550 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีเทือกเขาสูงอยู่ทางทิศตะวันตก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณอำเภอเชียงคำ อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน ทิศตะวันตกของอำเภอเมืองพะเยา และอำเภอแม่ใจ เทือกเขาเหล่านี้ทอดตัวในแนวเหนือ - ใต้ ขนานไปกับที่สูงตอนกลางที่ค่อย ๆ เทลาดลงสู่ที่ราบบริเวณ อำเภอจุน อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ และอำเภอเมืองพะเยา โดยมีเส้นขั้นระดับความสูง ไล่ระดับ ตั้งแต่ 300 - 500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางสำหรับบริเวณที่ราบลุ่มและที่ลุ่ม ระดับตั้งแต่ 500 - 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางสำหรับที่ลาดเชิงเขา และระดับตั้งแต่ 1,000 - 1,550 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางสำหรับที่ราบสูงและภูเขา
           ในพื้นที่ของจังหวัดพะเยานี้มีบริเวณที่ราบสูงเป็นพื้นที่ที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณที่ราบสูงตอนกลางของจังหวัดพะเยา ในเขตอำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง ที่ประกอบไปด้วยเทือกเขาหลายเทือกเขาอันเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสาย เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ ดอยภูลังกา ซึ่งมีระดับความสูง 1,098 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และดอยสันปันน้ำในเขตอำเภอปง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำยม
           นอกจากนี้ หากแบ่งภูมิประเทศตามลักษณะของลุ่มน้ำจะพบได้ว่าจังหวัดพะเยา มีพื้นที่อยู่ทั้งในเขตลุ่มน้ำโขงและ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือ พื้นที่อำเภอแม่ใจ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง (บางส่วน) และอำเภอเชียงคำ ส่วนที่อยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือ อำเภอปง (บางส่วน) และอำเภอเชียงม่วน ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำยม
           เทือกเขาที่สำคัญของจังหวัดพะเยา ได้แก่ เทือกเขาดอยภูลังกา ดอยสันปันน้ำ ดอยแม่สุก ดอยขุนแม่ฝาด ดอยขุนแม่ต๋ำ และดอยขุนแม่ต๋อม แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดพะเยามี 3 สาย คือ แม่น้ำอิง แม่น้ำลาว และแม่น้ำยม



ที่มา: http://www.phayao.go.th/au/landscape.php

ที่ตั้งและอาณเขต

ที่ตั้งและอาณเขตพะเยา

จังหวัดพะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตรมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้






    ที่มา:https://www.google.co.th/search

    สถานที่ท่องเที่ยว


    สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา

    จังหวัดพะเยา มีแหลงทองเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งทางธรรมชาติ โบราณสถานและประวัติศาสตร ศิลปกรรม และวัฒนธรรมประเพณี โดยมีแหลงทองเที่ยวที่สําคัญดังนี้

    กว๊านพะเยา พะเยา

    “กวานพะเยา” หรือ “หัวใจของเมืองพะเยา” อยูในเขตอําเภอเมืองพะเยา เปนทะเลสาบน้ําจืด ใหญเปนอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 4 ของประเทศไทย (รองจากบึงบอระเพ็ด, หนองหาน และบึงละหาน) คําวา "กวาน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เปนแหลงน้ําธรรมชาติอยูใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเปนฉาก หลัง เกิดจากน้ําที่ไหลมาจากหวยตางๆ 18 สาย มีปริมาณน้ําเฉลี่ยปละ 29.40 ลานลูกบาศกเมตร มีพันธปลาน้ําจืด กวา 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร เปนแหลงเพาะพันธุปลาตางๆ ประกอบกับ ทัศนียภาพโดยรอบกวานพะเยา มีความสวยงามประทับใจแกผูพบเห็น จึงกลายเปนแหลงทองเที่ยวตามธรรมชาติอีกทั้งบริเวณริมกวานพะเยา มีรานอาหารและสวนสาธารณะใหประชาชนและนักทองเที่ยวไดพักผอนหยอนใจ เนื่องจากกวานพะเยาในอดีต แตเดิมเคยเปนที่ราบลุมแมน้ํามีสายน้ําอิงไหลพาดผานคดเคี้ยวทอดเปนแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรด ขอบกวานฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใตประกอบกับมีหนองน้ํานอยใหญหลายแหงและรองน้ําหลายสายที่ไหลลงมา จากขุนเขาดอยหลวงแลวเชื่อมติดตอถึงกัน ทําใหพื้นที่ราบลุมแมน้ําแหงนี้มีความอุดมสมบูรณเปนอยางมาก จึงทําใหพื้นที่แหงนี้มีผูคนเขามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยูเปนชุมชนนานนับตั้งแตโบราณ





    อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง พะเยา

    อุทยานแหงชาติดอยภูนางมีสิ่งนาสนใจมากมายโดยเฉพาะนกยูงและน้ําตกตางๆ มีเนื้อที่ประมาณ 538,124 ไร หรือ 861 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 อําเภอ ไดแก อ.เชียงมวน อ.ปง อ.ดอกคําใต สภาพปา สวนใหญเปนปาเบญจพรรณและปาเต็งรัง มีสัตวปาหายากหลายชนิด เสือปลา แมวลายหินออน แมวดาว เลียงผา ตัวนิ่ม ฯลฯ ที่สําคัญคือ นกยูง





    อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง พะเยา

       อนุสาวรียพอขุนงําเมือง ประดิษฐานอยูที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จยา 90) ถนนเลียบกวานพะเยา พอขุนงําเมืองเปนกษัตริยผูปกครองเมืองภูกามยาว ลําดับที่ 9 เปนยุคที่เจริญรุงเรืองมาก พระองคทรงเปนพระสหายรวมน้ําสาบานกับพอขุนเม็งรายแหงเมืองเชียงราย และพอขุนรามคําแหงมหาราช แหงกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองคไดกระทําสัตยตอกัน ณ แมน้ําอิงสวนพระองคนั้น พอขุนงําเมืองเปนผูทรงอิทธิฤทธิ์ เลาขานสืบตอกันวา ยามเมื่อพระองคทรงเสด็จประพาสเยี่ยมเยือน ณ แหงหนใด “แดดก็บอฮอน ฝนก็บอฮํา จักใหบดก็บด” พรองกับพระนาม “งําเมือง”





    อุทยานแห่งชาติป่าแม่ปืม พะเยา

          อุทยานแห่งชาติแม่ปืมมีอาณาเขตไม่มากนัก แต่ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังที่ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติก็เป็นจุดเด่นที่สร้างสีสันงดงามในยามหน้าแล้งที่ผืนป่าพากันเปลี่ยนสี อุทยานแห่งชาติมีพื้นที่ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ป่าดอยปุย และป่าแม่ปืม ป่าดอยปุยอยู่ในเขตอำเภอพานและอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ป่าแม่ปืมอยู่ในพื้นที่อำเภอพานและอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย และอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา พื้นที่ประมาณ 222,500 ไร่ หรือ 356 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่อยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย ประมาณ 137,431 ไร่ หรือ 220 ตารางกิโลเมตร และอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา ประมาณ 85,069 ไร่ หรือ 136 ตารางกิโลเมตร) 









    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า พะเยา

     ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยเริ่มจากการบุกเบิกพื้นที่พัฒนาที่ดินจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ จัดสรรพื้นที่ทำกินให้แก่ราษฎรเพื่อยุติการบุกทำลายป่าไม้        จากนั้นส่งเสริมการปลูกไม้ผลเมืองหนาว โดยในช่วงแรกมีการแนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่    ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าเย้าและม้งปลุกสาลี่ พลับ อโวคาโด และถั่วแดงหลวง พื้นที่เป็นภูเขาและเนินเขา อุณหภูมิเฉลี่ย 25.8 องศาเซลเซียส 





    วัดศรีโคมคำ พะเยา



             วันศรีโคมคํา เปนพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอยาง ตั้งอยูในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกวา "วัดพระเจาองคหลวง" หรือ "วัดพระเจาตนหลวง" มีพระพุทธรูปองคใหญที่สุด ในลานนาไทย ขนาดหนาตักกวาง 14 เมตร สูง 16 เมตร มีประวัติกลาวถึงอยางพิสดารวา ปรากฏพญานาค ไดนําทองคํามาใหตายายคูหนึ่ง ที่ตั้งบานอยูริมกวานพะเยา เพื่อสรางพระพุทธรูปองคนี้ ซึ่งตายายคูนี้ใชเวลา สรางถึง 33 ป (พ.ศ. 2034 - 2067) และกาลตอมาเรียกวา "พระเจาองคหลวง" ในปจจุบันพระเจาองคหลวง มิใชเปนแตเพียงพระพุทธรูปคูเมืองพะเยาเทานั้น แตถือเปนพระพุทธรูปคูบานคูเมืองอาณาจักรลานนาไทยดวย โดยในเดือนพฤษภาคมจะมีงานนมัสการพระเจาองคหลวงเปนประจําทุกป เรียกวา "งานประเพณีนมัสการ พระเจาองคหลวงเดือนแปดเปง"




    วัดพระธาตุจอมทอง พะเยา

         วัดพระธาตุจอมทอง ศาสนสถานที่เปนจุดหมายปลายทางดานการทองเที่ยวที่สําคัญ ตั้งอยูบนดอยจอมทอง บริเวณริมกวานพะเยา อยูหางจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร อยูตรงขามวัดศรีโคมคํา มีทางรถยนตขึ้นไป ถึงยอดเขา ภายในวัดมี "พระธาตุจอมทอง" เปนเจดียทรงลานนาสูง 30 เมตร ตั้งอยูบนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กวาง 9 เมตร ซอนกันสามชั้น รองรับองคระฆัง สวนยอดสุดเปนฉัตรสีทอง ฐานโดยรอบขางลางบุดวยแผนโลหะ ดุนลายเปนรูป 12 นักษัตร และลายไทยอันงดงามมาก ลักษณะคลายพระธาตุหริภุญชัย ของจังหวัดลําพูน โดยวัดพระธาตุจอมทอง ตั้งอยูบนเนินเขาตรงขามวัดศรีโคมคํา ตําบลเวียง อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา จากสี่แยก ประตูชัย ทางหลวงหมายเลข 1 มุงหนาสูแมใจ 2.5 กิโลเมตร มีถนนเสนทางแยกดานซายมือซึ่งผานหอสมุด แหงชาติเฉลิมพระเกียรติประมาณ 300 เมตร ที่ตั้งวัดอยูทางดานขวามือ สําหรับความเปนมานั้นเลากันวา พระพุทธเจาเคยเสด็จมาเผยแผพระพุทธศาสนาที่เมืองภูกามยาว ประทับแรมบนดอย ตั้งอยูบนฝงหนองเอี้ยง ทางทิศเหนือ และพระองคทรงมอบพระเกศธาตุองคหนึ่ง เพื่อนําไปประดิษฐานไวในถ้ําบนดอยนั้น ซึ่งเปนถ้ําลึก กวา 70 วา



    วนอุทยานภูลังกา  พะเยา


          สัมผัสทะเลหมอก ดอกไม้ป่า พิชิตภูลังกา ภูนม ชมอาทิตย์ขึ้นลง เข้าดงก่อโบราณ กังวาลเสียงนก น้ำตกสวยใส ประทับใจดอกโคลงเคลงดอยภูลังกา ภาษาชาวเขาเผ่าเมี่ยน เรียกว่า "ฟินจาเบาะ" หมายความว่า "ภูเทวดา" เป็นยอดดอยที่สวยงามมีความสูง 1,720 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สูงที่สุดในเทือกเขาสันปันน้ำ ไทย-ลาว ด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 7,800 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลผ่าช้าง อ.ปง จ.พะเยา สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าดิบเขา เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม มีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากชมทะเลหมอกดวงอาทิตย์ขึ้นลง และดอกไม้ป่าสวยงาม โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาว มีถ้ำหลบภัยของ ผกค.ในอดีต มีน้ำตกสวยงาม


    วัดติโลกอาราม พะเยา

        วัดติโลกอาราม เปนโบราณสถานแหงหนึ่งที่จมอยูในกวานพะเยาคนพบในป พ.ศ. 2482 กรมประมงสรางประตูกั้นน้ําในกวานพะเยาเพื่อกักเก็บน้ํา เปนวัดที่พระเจาติโลกราช แหงราชอาณาจักรลานนา โปรดใหพระยายุทธิษถิระ เจาเมืองพะเยา สรางขึ้นในราวป พ.ศ. 2019-2029 ในบริเวณที่เรียกวา “บวกสี่แจง” ซึ่งแตเดิมเปนชุมชนโบราณ และมีวัดอยูเปนจํานวนมาก โดยวัดแหงนี้เปนชื่อวัดที่ปรากฏอยูในศิลาจารึก ซึ่งถูกคนพบไดในวัดรางกลางกวานพะเยาหรือในบริเวณหนองเตา จากขอความที่ปรากฏในศิลาจารึก ทําใหรูวาวัดนี้ มีอายุเกาแก มากกวา 500 ป สรางในสมัยพระเจาติโลกราช กษัตริยผูครองเมืองเชียงใหม วัดนี้มีความสําคัญ ทางประวัติศาสตรเนื่องจากผูปกครองเมืองพะเยาไดสรางถวาย เพื่อเปนการเทิดพระเกียรติแกพระเจาติโลกราช ในฐานะทรงเปนกษัตริยผูยิ่งใหญแหงอาณาจักรลานนา



    อุทยานแห่งชาติภูซาง พะเยา

        จากขอมูลของกรมอุทยานแหงชาติสัตวปาและพันธุพืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอม ไดกลาวถึง“อุทยานแหงชาติภูซาง” นั้นมีขนาดพื้นที่ประมาณ 284.8ตารางกิโลเมตร (17,8049.62 ไร) อยูในเขตระหวางอําเภอเทิง จ.เชียงราย กับ อ.ภูซาง ถึง อ.เชียงคํา จ.พะเยา และมีอาณาเขตติดตอกับ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว



    ที่มา:http://www.painaidii.com/diary/diary-detail/002325/lang/th/






    สภาพภูมิอากาศ


    สภาพอากาศ ของจังหวัดพะเยาแบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ

    • ฤดูร้อน อยู่ระหว่าง เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนจัดในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุด วัดได้ 39.5 องศาเซลเซียส
    • ฤดูฝน อยู่ระหว่าง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฝนตกหนาแน่นในเดือนพฤษภาคม ฝนตกตลอดปี ประมาณ 1,043.9 มิลลิเมตร มีวันฝนตก 101 วัน
    • ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวจัดในเดือนพฤศจิกายน และ เดือนมกราคม อุณหภูมิต่ำสุด วัดได้ 10.8 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม







    ที่มา:http://www.phayao.go.th/au/weather.php


    แผนที่จังหวัด


    แผนที่จังหวัดพะเยา






    ที่มา:http://student.nu.ac.th/49370951/pyomap.html




    อาหารพื้นเมือง



     อาหารพื้นเมืองจังหวัดพะเยา

    จังหวัดพะเยามีวัฒนธรรมที่หลากหลาย  เช่น วัฒนธรรมไทยลื้อ  วัฒนธรรมคนเชื้อสายจีน  วัฒนธรรมเชื้อสายอิสลาม  วัฒนธรรมไทยพุทธ  วัฒนธรรมศาสนาคริสต์  เป็นต้น     มีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย  มีอาหารพื้นบ้านที่บ่งบอกวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน  และเชื้อชาติ 
    อาหารพื้นบ้านของจังหวัดพะเยา  มีหลากหลายประเภท  ทั้ง แกง, ผัด, คั่ว, จอ, นึ่ง, ลาบ, น้ำพริก, แอ๊บ, ขนม เป็นต้น
    แกง เป็นอาหารประเภทน้ำ ที่มีปริมาณน้ำแกงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับส่วนประกอบต่างๆ ในหม้อ มีวิธีการทำ โดยใส่น้ำ พอเดือด ใส่เครื่องปรุง แล้วใส่ส่วนประกอบหลักที่ต้องการแกงตามลำดับ บางสูตร นิยมคั่วเครื่องแกงกับน้ำมันเล็กน้อย จนเครื่องแกงและส่วนผสมอื่น เช่น หมู ไก่ จนมีกลิ่นหอมก่อน จึงจะเติมน้ำลงไป และจึงใส่เครื่องปรุงอื่นๆ ตามไป เมื่อน้ำเดือด หรือเมื่อหมู หรือไก่ได้ที่แล้ว เครื่องปรุงหลัก ได้แก่ พริก หอมแดง กระเทียม ปลาร้า กะปิ ถ้าเป็นแกงที่มีเนื้อสัตว์ เป็นเครื่องปรุงด้วย จะใส่ตะไคร้ ขมิ้น เพื่อดับกลิ่นคาว  แกงพื้นบ้านของอำเภอเชียงคำ  เช่น  แกงฮังเล  แกงโฮ๊ะ  แกงคั่ว  แกงส้มปลา  แกงอ่อม  แกงสะแล  แกงผักเฮือด  แกงกระด้าง  แกงปลี  แกงผักกาด  แกงแค  แกงตูน  แกงชะอม  แกงขนุน  แกงบอน  แกงผักหวาน  แกงหน่อไม้  แกงหยวก  แกงเห็ด  ข้าวแรมฟืน  จอผักกาด เป็นต้น


     แกงฮังเล




     แกงโฮ๊ะ


    แกงสะแล


     แกงผักหวาน


    แกงกระด้าง


    น้ำพริก เป็นอาหารหรือเครื่องปรุงชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบหลัก คือ พริก เกลือ หอม กระเทียม เป็นต้น อาจมีส่วนผสมอื่นๆ เช่น กะปิ ถั่วเน่าแข็บ ปลาร้า มะเขือเทศ ข่า ตะไคร้ เพิ่มเข้าไป แล้วแต่จะปรุงเป็นน้ำพริกแต่ละชนิด วิธีการปรุง จะนำส่วนผสมทั้งหมดมาโขลกรวมกันในครก เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกกบ น้ำพริกปลา น้ำพริกพื้นบ้านของอำเภอเชียงคำ  เช่น น้ำพริกอ่อง  น้ำพริกแคบหมู  น้ำพริกหนุ่ม  น้ำพริกน้ำปู เป็นต้น



     น้ำพริกน้ำปู 


    น้ำพริกน้ำผัก


    น้ำพริกอ่อง


    น้ำพริกหนุ่ม 


    น้ำพริกแคบหมู


    ขนม  เป็นอาหารประเภทของหวาน ปรุงด้วยแป้งและกะทิ และน้ำตาล หรือน้ำอ้อย โดยปกติมักจะทำขนม เมื่อมีเทศกาล โอกาสพิเศษ หรือพิธีกรรมเท่านั้น และมักจะเป็นการเตรียมเพื่อทำบุญ เช่น วันพระ วันสำคัญทางพุทธศาสนา วันสงกรานต์ งานประเพณี งานทำบุญ ขนมที่นิยมทำ เช่น ขนมจ็อก ข้าวต้มหัวงอก ขนมลิ้นหมา ข้าววิตู ขนมกล้วย ขนมศิลาอ่อน หรือซาลาอ่อน ขนมวง ข้าวแต๋น  ของว่าง เช่น เหมี้ยง กระบอง (ผักทองทอด ปลีทอด) หลังอาหารชาวพะเยาสมัยโบราณนิยมรับประทานเหมี่ยง เรียกว่า "อมเหมี้ยง"


    ขนมจอก


    เมี้ยง



    ข้าวแคบ 


    ข้าวหนึกงา


    ขนมแตงไทย



    ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/433314